สอนภาษา java เบื้องต้น – การประกาศตัวแปร

การประกาศตัวแปร ภาษา java

การประกาศตัวแปรคือส่วนหนึ่งของพื้นฐานภาษา java และมีความสำคัญอยู่ไม่น้องเลยที่เดียว

สอนภาษา java เบื้องต้นเรื่อง การประกาศตัวแปร

จากรูป มีการประกาศตัวแปรที่เป็น ชนิดของ String int double char ขึ้นมา โดย format ในการประการตัวแปรนั้นคือ (ชนิดของตัวแปร ชื่อของตัวแปร ตามด้วยเครื่องหมาย 😉 เช่น int a; char b; เป็นต้น แต่ในรูป มีการกำหนดค่าคงที่เข้าไปด้วยโดยการเพิ่มเครื่องหมายเท่ากับลงไป แล้วตามด้วยค่าที่เราต้องการที่จะใส่ตามชนิดของตัวแปรชนิดนั้นๆ ตามด้วนเครื่องหมาย ; (หลักจากมีการเขียนคำสั่งเสร็จต้องครั้งต้องมีการใส่เครื่องหมาย ; เพื่อเป็นการบอกว่าจบคำสั่งทุกครั้ง ไม่งั้นขาดไปแม้แต่อันเดียวก็จะเกิด error) ส่วนบรรทัดล่วงถัดมาที่เขียนว่า System.out.print นั้คือการแสดงผลทางหน้าจอออกมาให้เห็นโดยผลลัพจะเป็นประมานี้

สอนภาษา java เบื้องต้นเรื่อง การประกาศตัวแปรตัวอย่างการ error

จะเห็นแสดงข้องมูลตามที่ประกาศตัวแปรไว้ และมีการเว้นบรรทัดเพราะ println มี ln ด้วยเลยทำวารเว้นบรรทัด แต่ถ้าเราไม่อยากให้เว้นบรรทัด อยากให้ print ต่อเนื่องก็ใสคำว่า print เฉยๆ ไม่ต้องมี ln

เรามาดูหลักการสำคัญในการประการประกาศตัวแปรใน ภาษา java กันก่อน นั้นคือ 1.จะต้อมีชื่อที่ไม่ตรงกับกับสั่งใดๆในภาษา java เช่น String int toString() เป็นต้น และต้องไม่มีอัครละพิเศษใช้ได้แค่ เครื่องหมาย _ และไม่ขึ้นต้นด้วยตัวเลข ตัวอย่างในอาจตั้งเช่น _aa _bb xx I_Love_You เป็นต้น และห้ามประกาศตัวแปรซ้ำตัวที่เคยประกาศตัวแปรไว้แล้ว
ดูตัวอย่างที่ถูกและผิดตามรูป

สอนภาษา java เบื้องต้นเรื่อง การประกาศตัวแปรตัวอย่างที่ 2

วิธีการกำหนดค่าให้กับตัวแปร
วิธีการกำหนดค่าให้กับตัวแปรต่างๆจะมีหลักการคือ ถ้าเกิดเป็นเลขจำนวนเต็ม จะใช้กับพวกตัวแปร int หรือ long ได้ ส่วนพวกทศนิยมจะใช้กับตัวแปล float หรือ double ส่วงพวกข้อความจะต้องกำหนดใส่ค่า String ซึ่ง ข้อความเหล่านั้นต้องมีเครื้อหมาย ดับเบิ้ลโขดคลอบหน้าครอบหลังเช่น “hello teacher” ส่วน char(อักษรตัวเดียว)ต้องมี โขดครอบเช่น ‘G’ เราอาจกำหนดค่าตัวแปลเหล่านี้ตอนประกาศตัวแปรเลย หรือกำหนดค่าทีหลังจากประกาศตัวแปนเสร็จก็ได้เช่น String a ; ……… a=”hello” (จะสังเกตเห็นว่าตัวแปร String จะมี “” ครอบอยู่) และเราสารถกำหนดค่าใหม่ได้เรื่อยๆ
ตัวอย่าง

สอนภาษา java เบื้องต้นเรื่อง การประกาศตัวแปรตัวอย่างที่ 3

โดยตัวอย่างเราจะมีการประกาศตัวแปรทั้งหมด 4 ตัว โดยมีการกำหนดค่าคงที่ตั้งแต่เริ่มแรกสองตัว และประกาศค่าตัวแปร แต่ไปกดหนดค่าคงที่ทีหลังอีกสองตัว โดยเราได้ทำการแสดงผลทางหน้าจอเป็น 2 step โดยค่าที่แสดงผลนั้นจะไม่เหมือนกัน เพราะ การรันของโปรแกรมนั้นจะรันไปทีละบรรทัด แต่จาก code เรารันสเตปแรกเสร็จ ได้มีการเปลี่ยนค่าของตัวแปร sTr = “u love me”; และตัวแปร dOuble = 3.03; จึงทำให้ค่าของสองตัวแปรนี้เปลี่ยนไป พอรัน step 2 ค่าที่แสดงผลออกทางหน้าจอจึงมีการเปลี่ยนไป
มาดูตัวอย่างผลการรันโปรแกรม

สอนภาษา java เบื้องต้นเรื่อง 5

จากรูปจะเห็นได้ว่าค่าของตัวแปร sTring และ dOuble เปลี่ยนแปลงไป จาก I love u เป็น u love me และ 11.03 เป็น 3.03 ตามลำดับ

การประกาศตัวแปร ควรระวังเรื่องการกำหนดค่าคงที่ เพราะเวลาประค่าตัวแปรแล้วถ้าเกิดไม่กำหนดค่าคงที่แล้วถ้าไม่ได้ใช้ทำอะไรในคำสั่งต่อไปจะไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิดค่าตัวแปรนั้นได้ถูกนำไปใช้หละก็ จะเกิด error ทันที เช่น
String a ;
String b = “xx” ;
System.out.println(b);
ในกรณีนี้ไม่เกิด error เพราะตัวแปร a ถึงแม้ไม่ได้กำหนดค่าคงที่ แต่ไม่ได้ถูกนำมาไช้ ส่วน b ถูกนำมาใช้ แต่ก็มีการประกาศค่าคงที่ให้แล้วจึงทำไห้ไม่เกิด error มาดูอีกกรณีกัน
String a ;
String b = “xx” ;
System.out.println(a);
System.out.println(b);
กรณีนี้จะเกิด error เพราะ มีการนำ a มาใช้ในคำสั่ง print ใน บรรทัดที่ 3 จึงทำให้โปรแกรมนั้นสับสนว่าค่า a นั้นคืออะไรและเกิด error ขึ้น แต่ในบางภาษาอาจอนุตญาตให้ผ่านไปได้ แต่ใน java นั้น ไม่อนุญาตครับผม

ปล. เพราะแบบนี้ คนส่วนใหญ่จึงนิยมมีการกำหนดค่าคงที่ตั้งแต่เริ่มประกาศตัวแปรเพื่อป้องกันการ error เช่น String ก็มีการประกาศเป็น “” ดับเบิ้ลโขดว่างไว้ก่อน ส่วน int ก็เป็น 0 ไว้ เป็นต้น เพื่อป้องกันการ error ครับ เช่น String a = “”;
String b = “xx” ;
System.out.println(a);
System.out.println(b);
เมื่อทำแบบนี้แล้วก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดปัญหา error ขึ้น

การกำหนดค่าตัวแปรต่าง type
ปัญหาของการกำหนดค่าตัวแปรอีกอย่างคือ การกำหนดค่าตัวแปรที่ต่าง type กัน หลักการก็คือ ตัวแปรที่ที่มี type ตำกว่า หรือระดับความจุที่ต่ำกว่า (ดูได้จากบทที่ 1) ไม่สามารถข้ามไปกำหนดใน type ที่สงกว่าได้เช่น
int a ;
float b = 0.03;
a = b;
ในกรณีนี้ไม่สามารถทำได้เพราะ บรรทัดที่ 3 มีการกำหนดให้ a = b a ซึ่งเป็น int มีค่าความจุน้อยกว่า b ที่เป็นตัวแปร float จึงทำให้ a ไม่สามารถเก็บค่า b ได้ จึงทำให้เกิด error
มาดูอีกตัวอย่าง
int a = 3 ;
float b ;
b = a;
ถ้าแบบนี้ไม่เกิด error เพราะ ค่า b ประกาศตัวแปรที่เป็น float ซึ่งมีค่ามากความจุกว่า a ที่เป็น int เป็นต้น

ปล.ถ้าในกรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนจากตัวแปร type ที่ใหญ่กว่า มาเป็นตัวแปร type ที่น้อยกว่าจริงๆ ให้ทำการ convert เอา (การบังคับเปลี่ยน type)เช่น
int a ;
float b = 0.03;
a = (int)b;
โดยในกรณีจาก float เป็น int จะใช้วิธ๊ (int) วงเล็บคลอบคำว่า int ไว้ข่างหน้าค่าของ float ตัวนั้น เป็นต้นซึ่งกรณีแปลง int float เป็น string หรือ แปลง string เป็น float หรือ int ก็จะเป็นอีกแบบนึง ซึ่งจะได้เรียนในบทถัดไป
การสอนภาษา จาวา java เบื้องต้น เรื่องการกำหนดและประกาศตัวแปรก็มีเพียงเท่านี้ สารถดูเรื่องอื่นได้ในบทต่อไปครับ

ใส่ความเห็น